วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา

การศึกษาทางจิตวิทยาใช้หลายๆ วิธีการมาผสมผสานและทำการวิเคราะห์บนสมมุติฐาน นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้เช่น การตรวจสอบตนเอง  การสังเกต  การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี  การสัมภาษณ์  การทดสอบ  ดังจะอธิบายเรียงตามลำดับต่อไปนี้

1.  การตรวจสอบตนเอง (Introspection)  หมายถึง  วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีต ที่ผ่านมา  แล้วบอกความรู้สึกออกมา  โดยการอธิบายถึงสาเหตุและผลของการกระทำในเรื่องต่าง ๆ  เช่น  ต้องการทราบว่าทำไมเด็กนักเรียนคนหนึ่งจึงชอบพูดปดเสมอ ๆ  ก็ให้เล่าเหตุหรือเหตุการณ์ในอดีต  ที่เป็นสาเหตุให้มีพฤติกรรมเช่นนั้นก็จะทำให้ทราบที่มาของพฤติกรรมและได้แนวทางในการที่จะช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้

การตรวจสอบตนเองจะได้รับข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและเป็นประโยชน์  เพราะผู้รายงานที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ แต่หากผู้รายงานจดจำเหตุการณ์ได้แม่นยำ  และมีความจริงใจในการรายงานอย่างซื่อสัตย์ไม่ปิดบัง  และบิดเบือนความจริง  แต่หากผู้รายงานจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่ได้หรือไม่ต้องการรายงานข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบก็จะทำให้การตี ความ หมายของเรื่องราวต่างๆ หรือเหตุการณ์ผิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง

2. การสังเกต  (Observation)  หมายถึง  การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย  โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว  การสังเกตแบ่งเป็น  2  ลักษณะคือ

2.1  การสังเกตอย่างมีแบบแผน  ( Formal  Observation )  หมายถึง  การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า  มีการวางแผน  มีกำหนดเวลา  สถานการณ์  สถานที่ พฤติกรรมและบุคคลที่จะสังเกต ไว้เรียบร้อยเมื่อถึงเวลาที่นักจิตวิทยาวางแผนก็จะเริ่มทำการสังเกตพฤติกรรมตามที่กำหนดและผู้สังเกตพฤติกรรมจะจดพฤติกรรมทุกอย่างในช่วงเวลานั้นอย่างตรงไปตรงมา

2.2  การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน  ( Informal  Observation )  หมายถึง  การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนล่วงหน้า  แต่สังเกตตามความสะดวกของผู้สังเกตคือจะสังเกตช่วงเวลาใดก็ได้แล้วทำการจดบันทึกพฤติกรรมที่ตนเห็นอย่างตรงไปตรงมา

การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลละเอียด  ชัดเจน  และตรงไปตรงมา  เช่น  การสังเกต อารมณ์  ความรู้สึกของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง    จะทำให้เห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น    แต่การสังเกตที่ดีมีคุณภาพ  มีส่วนประกอบหลายอย่าง  เช่น  ผู้สังเกตจะต้องมีใจเป็นกลางไม่อคติหรือลำเอียงอย่างหนึ่งอย่างใด  และสังเกตได้ทั่วถึง  ครอบคลุม  สังเกตหลาย ๆ  สถานการณ์หลาย ๆ หรือหลายๆ  พฤติกรรม  และใช้เวลาในการสังเกต ตลอดจนการจดบันทึกการสังเกตอย่างตรงไปตรงมา  และแยกการบันทึกพฤติกรรมจากการตีความไม่ปะปนกัน  ก็จะทำให้การสังเกตได้ข้อมูลตรงตาม   ความเป็นจริงและนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย

3.  การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี  (Case Study)  หมายถึง  การศึกษารายละเอียดต่าง ๆที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา  ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง  สร้างสรรค์ที่สำคัญของบุคคล  แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม  หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ  ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลพัฒนาตนเต็มศักยภาพแห่งตน

การสัมภาษณ์ที่ดี  จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ  ของผู้ที่ต้องการศึกษาตั้งแต่เรื่องประวัติ  เรื่องราวของครอบครัว  ประวัติพัฒนาการ  ประวัติสุขภาพ  ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน  ความสนใจ  ความถนัด  เป็นต้น  และในการรวบรวมข้อมูลอาจใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ  เข้ามาช่วยด้วย  เช่น  การสังเกต  การสัมภาษณ์  การใช้แบบทดสอบ  เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อเป็นการประมวลให้ได้ข้อมูลให้ละเอียดและตรงจุดให้มากที่สุด

4.  การสัมภาษณ์  (Interview)  หมายถึง  การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป  โดยมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งการสัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย  เช่น  การสัมภาษณ์เพื่อความคุ้นเคยสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน  สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ  ตลอดจนสัมภาษณ์เพื่อการแนะแนวและการให้คำปรึกษา เป็นต้น  แต่ทั้งการสัมภาษณ์ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ  เพื่อใช้ในการตัดสินใจ

การสัมภาษณ์ที่ดี  จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า  วางแผน  กำหนดสถานที่  เวลาและเตรียมหัวข้อหรือคำถามในการสัมภาษณ์  และนอกจากนั้นในขณะสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ควรจะใช้เทคนิคอื่น ๆ  ประกอบด้วยก็ยิ่งจะได้ผลดี  เช่น  การสังเกต  การฟัง  การใช้คำถาม  การพูด  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์  ก็จะช่วยให้การสัมภาษณ์ได้ดำเนินไปด้วยดี

5. การทดสอบ (Testing) หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะของ        พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆ  พฤติกรรมโดยให้ผู้รับการทดสอบเป็นผู้ตอบสนองต่อแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบภาษาและแบบปฏิบัติการหรือลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นตามจุดมุ่งหมายที่ผู้ทดสอบวางไว้แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการทดสอบหาข้อมูลก็ได้แก่  แบบทดสอบบุคลิกภาพ  แบบทดสอบความสนใจ  เป็นต้น

การทดสอบก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อผลของข้อมูลที่ได้รับ  ซึ่งแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน  ตลอดจนการแปรผลได้อย่างถูกต้อง  เป็นต้น

6.  การทดสอบ  (Experiment)  หมายถึง  วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ  มีขั้นตอนและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้  ตั้งปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน  การรวบรวมข้อมูล        การทดสอบสมมุติฐาน  การแปลความหมายและรายงานผล  ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมต่อไปการทดลองจึงเป็นการจัดสภาพการณ์ขึ้นมา เพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มหรือสถานการณ์  คือ

1.  กลุ่มทดลอง  (Experiment  Group)  คือ  กลุ่มที่ได้รับการจัดสภาพการณ์ทดลองเพื่อศึกษาผลที่ปรากฏจากสภาพนั้น  เช่น  การสอนด้วยเทคนิคระดมพลังสมอง  จะทำให้กลุ่มเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือไม่

2.  กลุ่มควบคุม  (Control  Group)  คือ  กลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดสภาพการณ์ใด    ทุกอย่างถูกควบคุมให้คงภาพเดิม  ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง สิ่งที่ผู้ทดลองต้องการศึกษาเรียกว่า ตัวแปร ซึ่งมีตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น  (Independent  Variable)  และตัวแปรตาม  (Dependent  Variable )

https://sites.google.com/site/somdejamulet/4-sil-beuxng-tn-thi-txng-cdca