Erikson

อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา  และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่  เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต  ประเทศเยอรมัน  ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี  ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน  เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็ก  จะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู  สภาพสังคม  และความเป็นอยู่ของเด็ก  ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุษย์วิทยา

ซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์  มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน

อีริคสัน  Psychosocial

  • เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • ถ้าปฏิสัมพันธ์ไม่ดี ส่งผลต่อการปรับตัวของสุขภาพจิต
  • แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้น

แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8  ขั้น

  1. 1-2 ขวบ    ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจ
  2. 2-3 ขวบเป็นอิสระหรือละอายสงสัย
  3. 4-5 ขวบคิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด
  4. 6-11 ขวบขยัน หรือมีปมด้อย
  5. 11-18 ปี                      เข้าใจบทบาทของตัวเองหรือสับสนในบทบาทของตัวเอง
  6. 20-35 ปีผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง
  7. 36-45 ปี ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง
  8. 45 ขึ้นไปมีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง

ขั้นที่  1  อายุ  1-2  ขวบ  ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจ  (Trust  vs  Mistrust)

ความอบอุ่นที่เกิดจากครอบครัว ทำให้เด็กเชื่อถือไว้ใจต่อโลก ไว้ใจคนอื่น ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

ขั้นที่ 2  อายุ  2-3 ขวบเป็นอิสระหรือละอายสงสัย (Autonomous  vs  Shame and Doubt)

ระยะที่เด็กพยายามใช้คำพูดของตัวเอง และสำรวจโลกรอบๆตัว  ถ้าพ่อแม่สนับสนุนจะทำให้เด็กรู้จักช่วยตนเองและมีอิสระ ส่งเสริมความสามารถของเด็ก

ขั้นที่ 3  อายุ 4-5 ขวบ คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด (Initiative  vs  Guilt)

เด็กจะชอบเล่นและเรียนรู้บทบาทของสังคม ริเริ่มทางความคิดจากการเล่น เด็กที่ถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรในสิ่งที่เขาอยากทำ เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกผิด ตลอดเวลา บิดามารดาควรพิจารณาร่วมกันว่ากิจกรรมใดที่ปล่อยให้เด็กทำได้ ก็ให้เด็กทำ จะได้เกิดคุณค่าในตัวเอง

ลดความรู้สึกผิดลงได้

ขั้นที่ 4  อายุ 6-11 ขวบ  ขยัน หรือมีปมด้อย (Industry  vs  Inferiority)

เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย

ขั้นที่  5  อายุ 11-18 ปี  เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง(Ego Identity  vs  Role  Confusion)

ระยะมีเอกลักษณ์ของตนเองกับความไม่เข้าใจตนเอง : เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสน ในตนเอง และล้มเหลวในชีวิตได้

ขั้นที่  6  อายุ 20-35 ปี ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง  (Intimacy  vs  Isolation)

เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น  ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพ  สร้างหลักฐาน มีความรัก ความผูกพัน

ขั้นที่ 7 อายุ  36-45 ปี  ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง (Generativity  vs  Stagnation)

ระยะให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคน  มีครอบครัวมีบุตร  ได้ทำหน้าที่ของพ่อแม่

ขั้นที่  8 อายุ 45 ขึ้นไป มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง (Ego  Integrity  vs  Despair)

วัยที่ต้องยอมรับความจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีต

ถ้าอดีตที่ผ่านมาแล้วประสบความสำเร็จจะทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจ

http://chonkaniya.blogspot.com/